ออนไลน์ : 20
หัวข้อ :: สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลภูวง
องค์การบริหารส่วนตำบลภูวง จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๒ ได้รับการยกฐานะ เป็น เทศบาลตำบลภูวง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
องค์การบริหารส่วนตำบลภูวง จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๒ ได้รับการยกฐานะ เป็น เทศบาลตำบลภูวง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
๑.๑ ที่ตั้งและอาณาเขต
ตำบลภูวง เป็นหนึ่งใน จำนวน ๖ ตำบล ของอำเภอหนองสูง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอหนองสูง ถนนสายสำคัญ คือ ถนน รพช หมายเลข ๓๐๐๒ สายหนองสูง-ป่งแดง เชื่อมต่อระหว่างอำเภอหนองสูง กับ อำเภอเมืองมุกดาหาร ตำบลภูวง อยู่ห่างจากตัวอำเภอหนองสูง เป็นระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดมุกดาหาร ประมาณ ๕๕ กิโลเมตร
๑.๒ เนื้อที่
ตำบลภูวงมีเนื้อที่โดยประมาณ ๒๓,๗๕๐ ไร่ หรือ ประมาณ ๓๔.๖ ตารางกิโลเมตร
๑.๓ ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลภูวง ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบ ระหว่างแนวภูเขาโดยมีภูเขาขนาบทั้ง ๒ ข้าง มีผาขาม และ ภูผากูด ทิศเหนือและทิศใต้ ลักษณะป่าไม้เป็นป่าเบญจพรรณ ยังอยู่ในสภาพสมบรูณ์ และในป้าไม้ยังมีพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด สัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุม ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบระหว่างภูเขา และป่าเบญจพรรณ การตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและเพาะปลูกตามที่ราบเชิงเขา และมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่เขตการปกครองๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับภูผากูด ,ติดต่อ ตำบลคำบก อำเภอคำชะอี
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลนาโสก อำเภอเมืองมุกดาหาร
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านนาหนองแคน ตำบลหนองสูงเหนือ
ทิศใต้ ติดกับภูผาขาม , ตำบลหนองสูงใต้ และตำบลร่มเกล้า อำเภอนิคมคำสร้อย
๑.๔ การปกครอง
ตำบลภูวงแบ่งการปกครองออกเป็นหมู่บ้าน ๗ หมู่บ้าน ซึ่งจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดอยู่ในเขต เทศบาลตำบลภูวง เต็มทั้งหมู่บ้าน
๑. บ้านวังไฮ หมู่ที่ ๑ ผู้ใหญ่บ้าน นายเชาวสิทธิ์ ระนา
๒. บ้านวังไฮ หมู่ที่ ๒ ผู้ใหญ่บ้าน นายรณชัย อาจวิชัย
๓. บ้านผาขาม หมู่ที่ ๓ ผู้ใหญ่บ้าน นายเกตุแก้ว สุพรรณโมกข์
๔. บ้านบุ่ง หมู่ที่ ๔ กำนันตำบลภูวง นายจำนงค์ สุริยะวงค์
๕. บ้านบุ่ง หมู่ที่ ๕ ผู้ใหญ่บ้าน นายฉลาด สุพรรณโมก
๖. บ้านนาตะแบง หมู่ที่ ๖ ผู้ใหญ่บ้าน นายสุพิน จำปา
๗. บ้านนาตะแบง หมู่ที่ ๗ ผู้ใหญ่บ้าน นายพูลศักดิ์ จำปา
๑.๕ ประชากร
ตำบลภูวง มีประชากรรวม ๒,๗๒๘ คน แยกเป็น
- เพศชาย ๑,๓๖๗ คน
- เพศหญิง ๑,๓๖๑ คน
ครัวเรือนทั้งหมด ๘๘๖ ครัวเรือน
สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชาชนใน ตำบลภูวง ประกอบอาชีพต่างๆ คิดเป็นอัตราส่วนของประชาชนทั้งหมด ดังนี้
- เกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ ๗๕
- รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ ๖
- รับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ ๑๐
- ค้าขาย คิดเป็นร้อยละ ๒
- อื่นๆ (นักเรียน/นักศึกษา/นักบวช/ภิกษุ/สามเณร/ ) คิดเป็นร้อยละ ๗
หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลภูวง
- ปั๊มน้ำมัน ๓ แห่ง (เป็นปั๊มหลอด)
- โรงสี ๓๐ แห่ง
- ร้านค้าชุมชน/ทั่วไป ๒๕ แห่ง
- ร้านตัดผม ๒ แห่ง
- ลานมัน ๑ แห่ง
- เสาดีแทค/วันทูคอล ๒ แห่ง
- เกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ ๗๕
- รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ ๖
- รับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ ๑๐
- ค้าขาย คิดเป็นร้อยละ ๒
- อื่นๆ (นักเรียน/นักศึกษา/นักบวช/ภิกษุ/สามเณร/ ) คิดเป็นร้อยละ ๗
หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลภูวง
- ปั๊มน้ำมัน ๓ แห่ง (เป็นปั๊มหลอด)
- โรงสี ๓๐ แห่ง
- ร้านค้าชุมชน/ทั่วไป ๒๕ แห่ง
- ร้านตัดผม ๒ แห่ง
- ลานมัน ๑ แห่ง
- เสาดีแทค/วันทูคอล ๒ แห่ง
สภาพทางสังคม
๓.๑ การศึกษา
๑. โรงเรียนประถมศึกษา ๓ แห่ง คือ
๑.๑ โรงเรียนบ้านวังไฮ
๑.๒ โรงเรียนบ้านบุ่ง (ขยายโอกาส ม.๑-๓)
๑.๓ โรงเรียนบ้านนาตะแบง ๒
๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตเทศบาลตำบลภูวง จำนวน ๓ แห่ง
๒.๑ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไฮ หมู่ที่ ๑
๒.๒ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาตะแบง หมู่ที่ ๖
๒.๓ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธรรมรังษี บ้านบุ่ง หมู่ที่ ๕
๓. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ - ๗
๔. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลภูวง ตั้งอยู่บ้านผาขาม หมู่ 3 ตำบลภูวง
๕. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ตั้งอยู่บ้านวังไฮ หมู่ ๑ ตำบลภูวง
(ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหนองสูง)
๓.๒ สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด / สำนักสงฆ์ ๑๓ แห่ง
๓.๓ การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลบ้านบุ่ง ๑ แห่ง
๓.๔ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ที่พักสายตรวจประจำตำบล ตั้งอยู่บ้านนาตะแบง หมู่ ๗
- หน่วยกู้ชีพตำบลภูวง จำนวน ๑ แห่ง
(อาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย Ems จำนวน ๑๗ คน )
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ๕๖ นาย
หมายเหตุ : หน่วยกู้ชีพกู้ภัยตำบลภูวง มีการอยู่เวรยาม วันละ ๒ พลัดๆ ละ 2 คน
๓.๓ การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลบ้านบุ่ง ๑ แห่ง
๓.๔ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ที่พักสายตรวจประจำตำบล ตั้งอยู่บ้านนาตะแบง หมู่ ๗
- หน่วยกู้ชีพตำบลภูวง จำนวน ๑ แห่ง
(อาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย Ems จำนวน ๑๗ คน )
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ๕๖ นาย
หมายเหตุ : หน่วยกู้ชีพกู้ภัยตำบลภูวง มีการอยู่เวรยาม วันละ ๒ พลัดๆ ละ 2 คน
๔. การบริการพื้นฐาน
๔.๑ การคมนาคม
การคมนาคมของตำบลภูวง มีถนนลาดยางเส้น 3002 สายหนองสูง – ป่งแดง เชื่อมระหว่างอำเภอหนองสูง กับอำเภอเมืองมุกดาหาร
4.2 โทรศัพท์
- วิทยุสื่อสารประจำสำนักงาน(โทรศัพท์) ๕ เครื่อง
- โทรศัพท์สาธารณะ ๗ แห่ง
นอกจากนั้นยังติดต่อสื่อสารโดยวิทยุและโทรศัพท์ส่วนบุคคล(มือถือ)
๔.๓ การไฟฟ้า
- มีไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้านและมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน
๔.๔ แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ,น้ำห้วย ๔ สาย
- บึง,หนองและอื่นๆ ๕ แห่ง
4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝายคันดิน ๒๗ แห่ง
- บ่อน้ำตื้น ๒๔ แห่ง
- บ่อโยก ๒๔ แห่ง
๕. ข้อมูลอื่นๆ
๕.๑ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- ดิน สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล ทำนา ทำไร่ และยังมีดินลูกรังคุณภาพดีอยู่เป็นจำนวนมาก
- แหล่งน้ำ มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ คือ ลำห้วยบังอี่ ห้วยไร่ ห้วยมะแหน่งน้อย - ใหญ่, ห้วยคันแท เป็นต้น
๔.๑ การคมนาคม
การคมนาคมของตำบลภูวง มีถนนลาดยางเส้น 3002 สายหนองสูง – ป่งแดง เชื่อมระหว่างอำเภอหนองสูง กับอำเภอเมืองมุกดาหาร
4.2 โทรศัพท์
- วิทยุสื่อสารประจำสำนักงาน(โทรศัพท์) ๕ เครื่อง
- โทรศัพท์สาธารณะ ๗ แห่ง
นอกจากนั้นยังติดต่อสื่อสารโดยวิทยุและโทรศัพท์ส่วนบุคคล(มือถือ)
๔.๓ การไฟฟ้า
- มีไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้านและมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน
๔.๔ แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ,น้ำห้วย ๔ สาย
- บึง,หนองและอื่นๆ ๕ แห่ง
4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝายคันดิน ๒๗ แห่ง
- บ่อน้ำตื้น ๒๔ แห่ง
- บ่อโยก ๒๔ แห่ง
๕. ข้อมูลอื่นๆ
๕.๑ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- ดิน สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล ทำนา ทำไร่ และยังมีดินลูกรังคุณภาพดีอยู่เป็นจำนวนมาก
- แหล่งน้ำ มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ คือ ลำห้วยบังอี่ ห้วยไร่ ห้วยมะแหน่งน้อย - ใหญ่, ห้วยคันแท เป็นต้น
วันที่ : 1 มกราคม 2559 View : 3267