ออนไลน์ : 6
หัวข้อ :: สภาพปัญหา
๑. สภาพปัญหา
ด้านปัญหา | สภาพปัญหา |
๑. ปัญหาด้านการคมนาคม ๑.๑ ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ (ถนนดินลูกรังสายเลียบภูผากูด) ๑.๒ ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ(ถนนดินลูกรัง (สายเลียบภูผาขาม)) |
- ถนนดินลูกรังใช้เป็นเส้นทางหลักขนถ่ายผลผลิตทางการเกษตรและไปมาหาสู่กันระหว่างหมู่บ้าน (หมู่ที่ ๑-๕) เป็นหลุมเป็นบ่อ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เนื่องจากขาดแคลนลูกรังชั้นดีมาก่อสร้างถนนและต้องใช้งบประมาณสูง ซึ่งเกินศักยภาพที่เทศบาลตำบลภูวงจะกระทำได้ - การขนส่งผลผลิตทางการเกษตรและการเดินทาง จากหมู่บ้านออกสู่พื้นที่การเกษตรไม่ได้รับความสะดวก - ถนนดินลูกรังใช้เป็นเส้นทางหลักขนถ่ายผลผลิตทางการเกษตรและไปมาหาสู่กันระหว่างหมู่บ้าน (หมู่ที่ ๑-๕) เป็นหลุมเป็นบ่อเนื่องจากขาดแคลนดินลูกรังที่มีคุณภาพ |
๒. ปัญหาด้านแหล่งน้ำ ๒.๑ ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค - บริโภค ๒.๒ ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ๒.๓ ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ และการสัญจรไป-มาข้ามไปสู่ภาคการ เกษตรถูกตัดขาด ๒.๔ การขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและแหล่งต้นน้ำ ลำธาร |
- ประชาชนชาวบ้านนาตะแบง หมู่ที่ ๖,๗ ประสบภาวะขาดแคลน น้ำดื่ม/น้ำใช้ ภายในครัวเรือนในช่วงฤดูแล้ง - น้ำดื่ม น้ำใช้ ไม่สะอาดเท่าที่ควร - ประชาชนชาวบ้านนาตะแบง หมู่ที่ ๗ ประสบภาวะขาดแคลนน้ำดื่ม/น้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง - ขาดแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตร - ประชาชนชาวบ้านวังไฮ หมู่ที่ ๑,๒ บ้านผาขาม หมู่ที่ ๓ และ บ้านบุ่ง หมู่ที่ ๔,๕ ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ - ขาดแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตร - ประชาชน (หมู่ที่ ๔-๕) ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับที่การเกษตรและแหล่งต้นน้ำลำธาร |
๓. ปัญหาด้านการศึกษา ๓.๑ การขาดโอกาสทางการศึกษาและข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Internet) |
- เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขาล้อมรอบโดยแนวภูเขาสูงชันเป็นอุปสรรคต่อระบบสื่อสาร (หมู่ที่ ๖-๗) |
ด้านปัญหา | สภาพปัญหา |
๔. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ๔.๑ การผลิต ๔.๒ การตลาด ๔.3 การมีรายได้ และการ มีงานทำ |
- ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ - ประชาชนขาดความรู้ในการทำการเกษตรแบบแผนใหม่ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงและมีคุณภาพ - ประชาชนยังขาด ทักษะ ฝีมือ ความรู้ในการประกอบ อาชีพด้านฝีมือ หัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ - ประชาชนยังขาดตลาดกลางจำหน่วยสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์จากงานฝีมือ - ประชาชนว่างงานหลังเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยว และการ ว่างงานแรงงานคืนถิ่น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ - รายได้ของประชาชนในพื้นที่ต่ำกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี - กลุ่มอาชีพขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ - ประชาชนยังขาดความรู้ ทักษะ และฝีมือในการประกอบ อาชีพในด้านต่าง ๆ - ประชาชนยังมีหนี้สินเนื่องจากต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูง |
๔. ปัญหาด้านสังคม ๔.๑ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ๔.๒ ยาเสพติด ๔.๓ อื่น ๆ ๕. ปัญหาด้านสาธารณสุข |
- ประชาชนยังขาดความรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต - เด็ก ผู้พิการ คนชรา และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ทุกหมู่บ้าน มีภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น - ขาดสถานที่เล่นและอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย - ประชาชนบางส่วนในหมู่บ้าน ยังติดยาเสพติดให้โทษ เช่น บุหรี่ กัญชา สุรา และอื่น ๆ (ส่วนน้อย) - เยาวชนและประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้ในโทษภัยของ ยาเสพติด และขาดความรู้ในด้านการต่อต้านยาเสพติดให้โทษ - เกิดจากการเดินทางไปทำงานยังเมืองหลวง และ อุตสาหกรรมต่างๆ - เด็กบางรายไม่ได้รับความอบอุ่นจากครอบครัวเท่าที่ควร - ประชาชนส่วนใหญ่ยังติดบุหรี่ - ประชาชนส่วนใหญ่ยังกินอาหารที่ทำให้สุกด้วยความร้อนน้อย (อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ) - การจัดบ้านเรือนยังไม่ถูกหลักสุขาภิบาล - การป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ยังมีในบางพื้นที่ - อัตราการป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ของคนชราในตำบลค่อนข้างสูง |
ด้านปัญหา | สภาพปัญหา |
- บัตรสุขภาพยังครอบคลุมไม่ทั่วถึง และเพียงพอกับประชาชน ผู้มีรายได้น้อย - นักเรียนระดับก่อนปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ที่ขาดสาร อาหารยังมีให้พบเห็น - การกำจัดขยะ - สถานพยาบาลอยู่ห่างไกล |
|
๖. ปัญหาด้านศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๖.๑ การศึกษา |
- นักเรียน ,นักศึกษามีฐานะยากจน ไม่มีทุนสำหรับ ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น - การคมนาคมภายในโรงเรียนประถมพื้นที่ตำบล ยัง ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร - โรงเรียนยังขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ที่เพียงพอตลอดปี (ฤดูแล้ง) - โรงเรียนในพื้นที่ยังขาดทุนในการฝึกอาชีพให้แก่นักเรียน |
๖.๒ การศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น | - ประเพณียังไม่ได้รับการอนุรักษ์เท่าที่ควร - ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดการประกอบกิจกรรมทาง ศาสนาร่วมกันในวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ - วัด/สำนักสงฆ์ ในพื้นที่ยังขาดงบประมาณในการ ประกอบกิจกรรมทางศาสนา - ขาดการส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาของ ท้องถิ่น |
๗. ปัญหาด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๗.๑ ทรัพยากรธรรมชาติ ๗.๒ สิ่งแวดล้อม |
- การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อเผาถ่าน สร้างที่อยู่ อาศัย ทำไร่ และเพื่อประโยชน์ตอแทนอื่น ๆ - ประชาชนยังขาดความรู้ในการนำทรัพยากรธรรมชาติ ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ - เกิดไฟไหม้ป่าในฤดูแล้ง - การลักลอบล่าสัตว์ป่า ในเขตอนุรักษ์ฯ เขตป่าสงวน และเขตห้ามล่าสัตว์ ยังมีอยู่เป็นประจำ - ประชาชนยังขาดความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ - เกิดน้ำท่วมขังถนนภายในหมู่บ้าน ในฤดูฝน - ประชาชนขาดความรู้ในการบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อม ภายในชุมชน/หมู่บ้าน |
ด้านปัญหา | สภาพปัญหา |
- ครัวเรือนไม่มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอย - ฝุ่นละอองจากโรงสีข้าวขนาดเล็ก และกลิ่นเหม็นจากมูล สัตว์ที่เลี้ยงภายในชุมชน - ขาดความรู้การกำจัดขยะที่ไม่ได้มาตรฐาน - ขาดงบประมาณในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ภายในตำบล |
|
๘. ปัญหาด้านการเมือง และ การบริหาร ๘.๑ การเมือง |
- เจ้าหน้าที่และสมาชิกเทศบาล ยังขาดความรู้ในด้าน ระเบียบกฎหมาย ในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ - ประชาชนไม่ค่อยเข้ามามีส่วนร่วมและไม่กล้าแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม การระดมความคิด เพื่อพัฒนา ท้องถิ่น เช่น การประชาคมหมู่บ้าน /ประชาคมตำบล - ประชาชนขาดโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ในระดับสูง - ประชาชนยังขาดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้ในชีวิต ประจำวัน |
๘.๒ การบริหารจัดการ | - - หน่วยงาน อปท. ยังขาดงบประมาณ บุคลากร และ เครื่องมือที่ทันสมัยในสำนักงาน เพื่อการบริหารงาน ภายในสำนักงานที่มีประสิทธิภาพ - ระบบการติดต่อสื่อสาร การโทรคมนาคม ภายในสำนัก งาน ยังไม่ทันสมัยและยังไม่มีครบครัน - ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินภายในสำนักงาน ไม่ดีเท่าที่ควร - ภูมิทัศน์บริเวณและภายในอาคารสำนักงานยังไม่ เหมาะสม เช่น อาการร้อนอบอ้าว สถานที่ทำงานคับแคบ - บุคลากรยังขาดความรู้ในการบริหารและการจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานอันทันสมัย - เทศบาล ยังไม่มีอาคารที่ทำการสำนักงาน เป็นของตัวเอง |
วันที่ : 1 มกราคม 2559 View : 2517